top of page

 

 

 

หลักการและเหตุผล - GIVE TO YOU

 

     

      ความเจริญก้าวหน้าในยุคปัจจุบันนั้นไปเร็วมาก จนทำให้สังคมในตอนนี้และค่านิยมผิดๆ ทำแค่สิ่งที่ชอบและไม่คำนึงถึงความถูกต้องเห็นแต่ความสุขส่วนตัวไม่เคยเห็นใจผู้อื่น ทำให้สังคมในปัจจุบันเสื่อมโทรมอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นเราจึงต้องปลูกฝังความมีจิตสำนึกให้กับบุคคล เพื่อให้ทุกคนคอยช่วยเหลือ เห็นใจกันและมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าตนเอง จึงอยากให้ทุกคนนึกถึงคาว่า “จิตสาธารณะ” คือให้เห็นใจ คอยช่วยเหลือกัน เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสาธารณะให้มากกว่าตนเอง ถ้าเราปลูกฝังให้ทุกคนมีความตระหนักต่อคาว่า

 “จิตสาธารณะ” ให้มากๆ ทุกคนก็จะได้มีความสุขอย่างแน่นอน

       

     ในขณะที่คนหลายๆคนยังใช้ชีวิตแบบมีความสุขแต่ยังมีเด็กกลุ่มหนึ่งที่ขาดแคลนสิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์การเรียนเครื่องเขียนต่างๆ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดที่จะทำริสแบรนด์เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือน้องๆ แบ่งปันของที่มีประโยชน์แต่ไม่ได้ใช้แล้วไปให้น้องๆกลุ่มนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   WHO AM I   

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ - GIVE TO YOU

 

       

         1.3.1.เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายริสแบรนด์มาบริจาคให้แก่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก

         1.3.2.เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่อยากช่วยเหลือได้มีส่วนร่วมกับโครงการของเรา

 

 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - GIVE TO YOU

 

        1.8.1.ทำให้เด็กๆที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็กได้มีของเล่นดีๆได้เล่นกันอย่างสนุกสนาน

        1.8.2.ทำให้เด็กๆที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็กได้มีสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ

 

 

การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง - GIVE TO YOU

 

       1.2.1.ความพอประมาณ คือ การรับบริจาคสิ่งของที่มีประโยชน์ ที่ไม่ได้ใช้แล้วไปให้แก่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก

        1.2.2.ความมีเหตุผล คือ การนำของที่รับบริจาค และของที่ซื้อจากการที่ได้จากกำไรที่ขายริสแบรนด์ ไปบริจาคให้กับ

โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ที่ขาดแคลนจริง ๆ ไม่นำเงินไปใช้จ่ายอย่างไม่ถูกต้อง

        1.2.3.ความมีภูมิคุ้มกัน คือ การวางแผนค่าใช้จ่ายในการได้กาไรจากการขายริสแบรนด์ว่าได้มากน้อยเพียงใด ของที่จะ

บริจาคเพียงพอกับจำนวนเด็กในโรงเรียนหรือไม่

        1.2.4.เงื่อนไขความรู้ คือ การนำของที่มีประโยชน์ไปบริจาคแก่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก เช่น เสื้อผ้าหรือผ้าห่มที่ช่วยบรรเทา

อาการหนาวได้ หรืออาจจะเป็นสื่อการเรียนรู้ที่จะได้ช่วยพัฒนาแก่เด็กในโรงเรียน

        1.2.5.เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความซื่อสัตย์กับตนเองโดยการนำกาไรที่ได้จากการขายริสแบรนด์ไปทำคุณประโยชน์แก่

โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก

 

วิธีการดำเนินงาน - GIVE TO YOU

        1.5.1.ปรึกษาหาหัวข้อในการทำโครงงานของคนในกลุ่ม

        1.5.2.หาข้อมูลเลือกสถานที่ที่จะลงมือปฏิบัติ

        1.5.3.ทำริสแบรนด์เพื่อนำมาขายพร้อมกับรับบริจาคสิ่งของที่ไม่ได้ใช้แล้ว

        1.5.4.นำกำไรที่ได้จากการขายริสแบรนด์มาซื้อของใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กๆ

        1.5.5.ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามสถานที่และวัน-เวลา

        1.5.6.ดูแลและติดตามผล

        1.5.7.สรุปโครงการ

        1.5.8.จัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูล

สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก มูลนิธิเด็ก : Children Village School

  • 16/1 ม.2 ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 71190 , THAILAND

ระยะเวลาในการดำเนินงาน 

เดือนพฤษภาคม - กันยายน 2557

รายละเอียดงบประมาณของโครงการ 

        1.7.1.ค่าอาหาร 500 บาท

        1.7.2.ค่าเดินทาง 1000 บาท

        รวม 1500 บาท

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

2.1 จิตสาธารณะ

          จิตสาธารณะ หมายถึง ความรู้สึกตระหนักของบุคคลถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกที่ปรารถนาจะร่วมและมีส่วนช่วยเหลือสังคม โดยรับรู้ถึงสิทธิควบคู่ไปกับหน้าที่และความรับผิดชอบ สำนึกถึงพลังของตนว่าสามารถร่วมแก้ไขปัญหาได้ และลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ โดยการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกันกับคนในสังคมเพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมทุกวันนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความมีน้ำใจไมตรีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยไม่หวังผลตอบแทน การดำรงชีวิตในสังคมที่มีการช่วยเหลือกันถึงแม้ว่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรา หรือเราไม่ได้เดือดร้อนด้วย แต่ก็เต็มใจที่จะแบ่งปันให้การช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน นั่นคือ การแสดงความมีจิตสาธารณะนั่นเอง

          การที่มนุษย์ในสังคมจะแสดงออกซึ่งการมีจิตสาธารณะนั้นเป็นเรื่องที่ยาก หากไม่ได้รับการเลี้ยงดูมาแบบส่งเสริมหรือเอื้อต่อการเกิดพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะ สังคมก็จะเป็นไปแบบเห็นแก่ตัว คือ ตัวใครตัวมัน ไม่สนใจสังคมรอบข้างคิดแต่ประโยชน์แห่งตนเท่านั้น ชุมชนอ่อนแอ ขาดการพัฒนา เพราะต่างคนต่างอยู่ สภาพชุมชนมีสภาพเช่นไรก็ยังคงเช่นนั้น ไม่เกิดการพัฒนา และยิ่งนานไปก็มีแต่เสื่อมทรุดลง อาชญากรรมในชุมชนอยู่ในระดับสูง ขาดศูนย์รวมจิตใจ ขาดผู้นำที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เพราะคนในชุมชนมองปัญหาของตัวเองเป็นเรื่องใหญ่ ขาดคนอาสานำการพัฒนา เพราะกลัวเสียทรัพย์ กลัวเสียเวลา หรือกลัวเป็นที่ครหาจากบุคคลอื่น ดังนั้น การศึกษาแนวทางและความสำคัญของการมีจิตสาธารณะเพื่อให้เกิดในจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรกระทำ เพื่อสังคมที่น่าอยู่ต่อไป ทั้งนี้เพราะเด็กช่วงแรกเกิดจนถึงก่อน 10 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กมีความไวต่อการรับการปลูกฝัง และส่งเสริมจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะเด็กยังเป็น “ไม้อ่อนที่ดัดง่าย” ฉะนั้นการปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการด้านสังคมและด้านจิตใจของเด็กจะเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ก่อให้เกิดความเข้มแข็งของสังคม จะส่งผลให้ การเมือง เศรษฐกิจ ศีลธรรมในสังคมนั้นดีขึ้น

 

 

2.2 จิตสาธารณะเพื่อส่วนรวม

          โดยการกระทำตนเอง ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม

          มีบทบาทต่อสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อแก้ปัญหา สร้างสรรค์สังคม ซึ่งถือว่าเป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

 

2.3 ความรับผิดชอบต่อตนเอง

          จิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง นับว่าเป็นพื้นฐานต่อความรับผิดชอบ ต่อสังคม ตัวอย่างความรับผิดชอบ ต่อตนเองดังนี้
        1. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหาความรู้
        2. รู้จักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้แข็งแรงสมบรูณ์
        3. มีความประหยัดรู้จักความพอดี
        4. ประพฤติตัวให้เหมาะสม ละเว้นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย
        5. ทำงานที่รับมอบหมายให้สำเร็จ
        6. มีความรับผิดชอบ ตรงเวลา สามารถพึ่งพาตนเองได้

 

2.4 ความรับผิดชอบต่อสังคม

          เป็นการช่วยเหลือสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อนได้รับความ เสียหายเช่น

       1. มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว เช่น เชื่อฟังพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้าน ไม่ทำให้พ่อแม่เสียใจ

       2. มีความรับผิดชอบต่อโรงเรียน ครูอาจารย์ เช่น ตั้งใจเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์

ปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัยของโรงเรียน ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของโรงเรียน

       3. มีความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นเช่นให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำไม่เอาเปรียบเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

       4. มีความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง เช่น ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม ปฏิบัติตามกฎหมาย รักษาสมบัติของส่วนรวม ให้ความร่วมมือต่อสังคมในฐานะพลเมืองดี ให้ความช่วยเหลือ

 

2.5แนวทางการสร้างจิตสาธารณะ 
       การสร้างจิตสาธารณะ เป็นความรับผิดชอบในตนเอง แม้ว่าจะได้รับการอบรมสั่งสอนถ้าใจตนเองไม่ยอมรับ จิตสาธารณะก็ไม่เกิด ฉะนั้นคำว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" จึงมีความสำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างจิตสาธารณะถ้าตนเองไม่เห็นความสำคัญแล้วคงไม่มีใครบังคับได้

          นอกจากใจของตนเองแล้ว แนวทางที่สำคัญในการจิตสาธารณะยังมีอีกหลายประการถ้าปฏิบัติได้ก็จะเป็น


2.6 ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

       2.6.1. สร้างวินัยในตนเอง ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตย รู้ถึงขอบเขตของสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม

       2.6.2. ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักเสมอว่าตนเอง คือส่วนหนึ่งของสังคมต้องมีความรับผิดชอบ ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนรวม ทั้งต่อประเทศชาติ และโลกใบนี้

       2.6.3. ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ให้ถือว่าเป็นปัญหาของตนเอง เช่นกันอย่าง หลีกเลี่ยง ไม่ได้ ต้องช่วยกันแก้ไข เช่น ช่วยกันดำเนินการให้โรงงานอุตสาหกรรมสร้างบ่อพักน้ำทิ้งก่อน ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

       2.6.4. ยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะหลักธรรมหรือคำสั่งสอนในทุกศาสนาที่นับถือ สอนให้คน ทำความดีทั้งสิ้น ถ้าปฏิบัติได้จะทำให้ตนเองมีความสุข นอกจานี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมด้วย ทำให้เราสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

2.7 ข้อแตกต่างระหว่างการให้กับการบริจาค

          การให้หรือภาษาพระเรียกว่าทาน  ทาน  แปลว่า  การให้  คำนี้มันบอกความหมายตรงกับคำแปลคืออะไรอย่างนั้นหรือ  มันหมายถึงการให้แบบเจาะจงลงไปว่าการให้จะให้ใครยกตัวอย่างเช่น  การให้ของแก่ใคร  เป็นต้นการให้นี้อาจเป็นเพราะรักใคร่หรือไม่ก็หวังสิ่งตอบแทนก็ได้  อย่างเช่น  การให้ของแก่พ่อแม่  ก็เพราะหวังให้พ่อแม่ดีใจประทับใจ  เป็นต้น  นี้เป็นการให้โดยหวังสิ่งตอบแทน  หรือจะเรียกได้ว่าการให้นั้น  เป็นการให้แบบเจาะจงไว้ว่าจะให้ใครแล้วนั้นเป็นความหมายของคำว่า การให้ มันเป็นความหมายตรงๆกับคำแปลอยู่แล้ว ส่วนคำว่า  บริจาค  แปลว่า  การเสียสละ  หรือ  การสละสิ่งของ  คำนี้มันให้ความหมายกับคำแปล่อยู่แล้ว คือการสละสิ่งของโดยแม่หวังสิ่งตอบแทนมันเป็นอีกขั้นหนึ่งของการให้ทานอาจเรียกได้ว่ามันเป็นขั้นที่สูงกว่าการให้เพราะการบริจาคมันมีความหมายลึกซึ้งกว่าการให้ที่เรียกว่าทาน

 

 

 

 

 

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ

3.1 วัสดุอุปกรณ์

        3.1.1. ข้าวสาร

        3.1.2. ตุ๊กตา

        3.1.3. แป้ง

        3.1.4. สบู่

        3.1.5. ยาสีฟัน

        3.1.5. ขนม

        3.1.6. นม

        3.1.6. น้ำมันพืช

        3.1.7. น้ำยาล้างจาน

        3.1.8. เครื่องปรุงรส       

 

3.2 วิธีการดำเนินการ

        3.2.1.ปรึกษาหาหัวข้อในการทำโครงงานของคนในกลุ่ม

        3.2.2.หาข้อมูลเลือกสถานที่ที่จะลงมือปฏิบัติ

        3.2.3.ทำริสแบรนด์เพื่อนำมาขายพร้อมกับรับบริจาคสิ่งของที่ไม่ได้ใช้แล้ว

        3.2.4.นำกำไรที่ได้จากการขายริสแบรนด์มาซื้อของใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กๆ

        3.2.5.ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามสถานที่และวัน-เวลา

        3.2.6.ดูแลและติดตามผล

        3.2.7.สรุปโครงการ

        3.2.8.จัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูล

 

 

 

 

 

บทที่ 4 ผลการดำเนินโครงการ

     

   จากการทำกิจกรรมบริจาคของให้กับเด็กที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก มูลนิธิเด็ก ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี  โครงการ Give to you ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

        4.1 ในวันที่ 5 กันยายน 2558 นำเงินที่ได้จากการรับบริจาคมาเลือกซื้อของที่จะไปมอบให้กับเด็กโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก มูลนิธิเด็ก ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 

        4.2  ในวันที่ 6 กันยายน 2558 เดินทางไป โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก มูลนิธิเด็ก ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เพื่อจะนำของไปบริจาคให้กับเด็ก

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

 

5.1 สรุปผลและอภิปรายผล

        จากการดำเนินกิจกรรม พบว่า มีคนมาบริจาคเงินมากมายเพื่อที่จะได้ไปช่วยเหลือน้องๆที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก และกลุ่มข้าพเจ้าได้ขายริสแบรนด์ ไป 10 อัน ตามที่ได้กำหนดไว้  ส่งผลให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ทั้งนี้ ผู้ปกครองยังให้การสนับสนุน ดูแลเอาใจใส่ ช่วยวางแผนการจัด กิจกรรม ให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาตลอดการทำกิจกรรม

 

5.2 ข้อเสนอแนะ

       ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ควรมีกิจกรรมหรือการละเล่นที่สนุกและมีประโยชน์ให้น้องๆโรงเรียนหมู่บ้านเด็กได้เล่นกัน

 

bottom of page